วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น


ประเภทของสิ่งแวดล้อม
จากความหมายของสิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Mode Environment)

1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ( Natural Environment)
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต) และสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต

1. 1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) แบ่งได้ดังนี้

1.1.1 บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึงอากาศที่ห่อหุ้มโลก ประกอบด้วย กา๙ชนิดต่างๆ เช่น โอโซน ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นละออง และไอน้ำ

1.1.2 อุทกภาค (Hydrosphere) หมายถึงส่วนที่เป็นน้ำทั้งหมดของพื้นผิวโลก ได้แก่ มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ

1.1.3 ธรณีภาค หรือ เปลือกโลก(Lithosphere) หมายถึง ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งห่อหุ้มอยู่รอบนอกสุด ของโลกประกอบด้วยหินและดิน


1.2 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) ได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์

2 . สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(Man-Mode Environment)
แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้

2.1 สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (Concrete Environment) ได้แก่ บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด

2.2 สิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Abstract Environment)ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา กฎหมายระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นต้น

องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ


สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้

1. ลักษณะภูมิประเทศ

2. ลักษณะภูมิอากาศ

3. ทรัพยากรธรรมชาติ

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ

1. พลังงานภายในเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกผันแปร บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง หรือทรุดต่ำลง เช่น เหว แอ่งที่ราบ

2. ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม ได้แก่ ลม กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง

3. การกระทำของมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน การตัดถนนเข้าไปในป่า ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม

ความสำคัญของลักษณะภูมิประเทศ

1. ความสำคัญต่อมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน การประกอบอาชีพของมนุษย์ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำ

2. ความสำคัญต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง ย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของท้องถิ่น เช่น ทำให้เกิดเขตเงาฝน

3. ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เขตเทือกเขาสูง ย่อมอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ ป่าไม้และสัตว์ป่า

ประเภทของลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศจำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ลักษณะภูมิประเทศอย่างใหญ่ เห็นได้ชัดและเกิดในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวภายในของเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกยกตัวขึ้นสูงหรือทรุดต่ำลง โดยคงลักษณะเดิมไว้นานๆ เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา และภูเขา

2. ลักษณะภูมิประเทศอย่างย่อย มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก อาจเปลี่ยนแปลงรูปได้ มักเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง กระแสลม คลื่น เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ อ่าว แหลม น้ำตก

ประเภทของที่ราบ แบ่งตามลักษณะของการเกิด

1. ที่ราบดินตะกอน พบตามสองฝั่งของแม่น้ำ เกิดจาการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพัดพา

2. ที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นที่ราบลุ่มในบริเวณแม่น้ำ มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน เกิดจากการทับถมของดินตะกอนหรือวัสดุน้ำพา

3. ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณปากแม่น้ำ เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนวัสดุน้ำพาจนกลายเป็นที่ราบรูปพัด

4. ลานตะพักลำน้ำ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอีกประเภทหนึ่ง แต่อยู่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ำออกไป น้ำท่วมไม่ถึง ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ บางที่เรียกว่า ที่ราบขั้นบันได

ความสำคัญของภูมิอากาศ

1. ความสำคัญที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศทำให้ท้องถิ่นมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน

2. ความสำคัญที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนชุก จะมีทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบางชนิดชุกชุม

3. ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์ ภูมิอากาศย่อมมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย บ้านเรือน

ปัจจัยที่มำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นต่างๆมีความแตกต่างกัน

1. ที่ตั้ง คือ ละติจูดของพื้นที่

2. ลักษณะภูมิประเทศ คือ ความสูงของพื้นที่

3. ทิศทางลมประจำ เช่น ลมประจำปี

4. หย่อมความกดอากาศ

5. กระแสน้ำในมหาสมุทร

ที่ตั้ง หรือ ละติจูดของพื้นที่

ละติจูดของพื้นที่มีผลต่อปริมาณความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์ ดังนี้

1. เขตละติจูดต่ำ ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปี จึงมีอากาศร้อน

2. เขตละติจูดสูง ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ความร้อนที่ได้รับมีน้อย จึงเป็นเขตอากาศหนาวเย็น

3. เขตละติจูดปานกลาง ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากน้อยตามฤดูกาล จึงมีอากาศอบอุ่น

ความอยู่ใกล้ หรือไกลทะเล

มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น ดังนี้

1.พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล จะได้รับอิทธิพลจากพื้นน้ำ ทำให้ฝนตกมากและอากาศเย็น

2.พื้นที่ที่อยู่ไกลทะเล เช่น อยู่กลางทวีป อากาศจะแห้งแล้ง

ความสูงของพื้นที่ มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น

พื้นที่ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาวเย็น เนื่องจากความร้อนที่ผิวพื้นโลกได้รับจากดวงอาทิตย์จะแผ่สะท้อนกลับสู่บรรยากาศ ดังนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้พื้นผิวโลกจึงมีความร้อนมาก

การขวางกั้นของเทือกเขาสูง

มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น ถ้าเทือกเขาสูง วางตัวกั้นทิศทางของลมประจำ เช่น ลมมรสุมฤดูฝน จะเป็นผลให้ด้านหน้าของเทือกเขาได้รับความชุ่มชื้น มีฝนตกชุก ส่วนด้านหลังของเทือกเขาเป็นเขตอับลมฝนแห้งแล้ง ที่เรียกกันว่า เขตเงาฝน

การจำแนกเขตภูมิอากาศโลกตามวิธีการของเคิปเปน

เคิปเปน นักภูมิอากาศวิทยาชาวออสเตรีย ได้กำหนดประเภทภูมิอากาศของโลกออกเป็น 6 ประเภท โดยกำหนดสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

1. แบบร้อนชื้น (a) มีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี ฝนตกชุก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ

2. แบบแห้งแล้ง (b) มีอุณหภูมิสูง แห้งแล้ง มีฝนตกน้อยมาก พืชพรรณเป็นพืชทะเลทราย

3. แบบอบอุ่น หรือชื้น อุณหภูมิปานกลาง (c) อากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง พืชพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น

4. แบบหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ (d) อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ พืชพรรณเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ป่าเขตหนาว และทุ่งหญ้าแพรี

5. แบบขั้วโลก (e) อากาศหนาวเย็นมากที่สุด อุณหภูมิต่ำมาก พืชพรรณเป็นหญ้ามอส และตะไคร่น้ำ

6. แบบภูเขาสูง (h) เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบพิเศษ พบในเขตภูเขาสูง มีภูมิอากาศหลายแบบทั้ง a, c, d อยู่ร่วมกันตามระดับความสูงของภูเขา ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาว พืชพรรณธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่

หลักเกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศของเคิปเปน

เคิปเปน มีหลักเกณฑ์การพิจารณา 3 ประการ ดังนี้

1. อุณหภูมิของอากาศในท้องถิ่น

2. ปริมาณฝนของท้องถิ่น

3. ลักษณะพืชพรรณของท้องถิ่น

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มี 4 ประเภท ดังนี้

1. ดิน 2. น้ำ 3. แร่ธาตุ 4. ป่าไม้

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. การเพิ่มของจำนวนประชากร ทำให้การบริโภคทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว

2. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เลื่อยไฟฟ้าตัดไม้ในป่า

3. การบริโภคฟุ่มเฟือย ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สนับสนุนให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน

ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย อนินทรีย์วัตถุ มีร้อยละ 45 อินทรีย์วัตถุ มีร้อยละ 5 น้ำร้อยละ 25 และอากาศร้อยละ 25 ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน คือ

1. ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลาดชันมาก การสึกกร่อนพังทลายของดินมีมาก

2. ลักษณะภูมิอากาศ ในเขตร้อนชื้น ฝนตกชุก การชะล้างของดินและการผุพังสลายตัวของแร่ธาตุ ซากพืชซากสัตว์ในดินจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเร็ว

3. สัตว์มีชีวิตในดิน เช่น ไส้เดือน จุลินทรีย์ในดิน จะช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์ ทำให้ดินได้รับฮิวมัสเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่ควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ

1. น้ำบนดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง

2. น้ำใต้ดิน หมายถึง น้ำบาดาล ปริมาณน้ำใต้ดินจะมีมากน้อย ขึ้นกับ

- ปริมาณฝนของพื้นที่นั้นๆ

- ความสามารถในการเก็บกักน้ำของชั้นหินใต้พื้นดิน

ประเภทของแร่ธาตุ

1. แร่โลหะ คือแร่ที่ประกอบด้วยธาตุโลหะ มีความวาวให้สีผงเป็นสีแก่ ได้แก่ xxxีบุก ทังสเตน พลวง

2. แร่อโลหะ คือแร่ที่ไม่มีความวาวแบบโลหะ ให้สีผงเป็นสีอ่อน ได้แก่ ดินขาว หินปูน หินอ่อน

3. แร่เชื้อเพลิง คือแร่ที่มีสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน ทำเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ

4. แร่นิวเคลียร์ คือแร่ที่นำมาใช้ในกิจการพลังงานปรมาณู เช่น ยูเรเนียม

การจำแนกประเภทของป่าไม้

1. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ มีใบเขียวตลอดปี พบในเขตฝนชุก มี 4 ชนิด ดังนี้

1.1 ป่าดงดิบ มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ

1.2 ป่าดิบเขา มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบ

1.3 ป่าสนเขา เป็นไม้สน ขึ้นในเขตภูเขาสูง

1.4 ป่าชายเลน ขึ้นตามชายฝั่งทะเลที่มีหาดเลน บางที่เรียกว่า ป่าเลนน้ำเค็ม

2. ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าไม้ที่ผลัดใบในฤดูแล้ง มี 2 ชนิด ดังนี้

2.1 ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง ผลัดใบในฤดูแล้ง

2.2 ป่าแดง เป็นป่าโปร่ง มีทุ่งหญ้าสลับทั่วไป

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ

1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน

2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม
ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ
ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตLogos แปลว่า เหตุผล, ความคิด== ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ ==สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้1. ต้องมีการเจริญเติบโต2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย3. สืบพันธุ์ได้ 4. ประกอบไปด้วยเซลล์5. มีการหายใจ6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อมโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกันแหล่งที่อยู่ (Habitat)หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำสิ่งแวดล้อม (Environment)หมายถึง1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตtest== ส่วนประกอบ==ในระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ1. องค์ประกอบที่มีชีวิต ซึ่งแบ่งย่อยออกไปตามหน้าที่ ได้ดังนี้ 1.1 ผู้ผลิต หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองจากพลังงานแสงอาทิตย์เพราะมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพีลล์ซึ่งได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดและบัคเตรีบางชนิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000ชนิด พืชเหล่านี้สร้างอาหารโดยอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์และอนินทรียสาร 1.2 ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตัวมันเองไม่สามารถสร้างอาหารได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ 1.3 ผู้ย่อยสลาย เป็นพวกที่ปรุงอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยซากของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร ได้แก่ จุลินทรีย์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ บัคเตรี เห็ด รา ยีสต์ ฟังไจ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ จะทำการย่อยสลายซากชีวิตต่างๆ โดยการขับเอนไซม์ออกมาย่อยสลายจนอยู่ในรูปของสารละลาย แล้วจากนั้นก็ดูดซับเข้าไปในลำตัวของมันต่อไป การย่อยสลายในระดับดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสารประกอบในรูปของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ย่อยสลายจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อให้พืชสีเขียวดังไปใช้สร้างธาตุอาหารต่อไปใหม่ 2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 2.1 อนินทรียสาร ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน น้ำ ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ 2.2 อินทรียสาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฯลฯ ซึ่งพืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลาย ทำการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ 2.3 ภูมิอากาศ ได้แก่ แสง อุณหภูมิความชื้น น้ำฝน== อ้างอิง ==* ระบบนิเวศ

มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ อาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตจากทรัพยากรธรรมชาติ
ประชากร ที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

•ต้องแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น
•ปรับปรุงเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
•ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตสำหรับเลี้ยงประชากรโลก
•พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
•พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง
•มีการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมในระดับโลก
ประชากรเพิ่มมากขึ้น

•ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
•ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสะสมของเสีย
•เกิดมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
•ปัญหาของระบบนิเวศ
มีสาเหตุหลากหลาย ระดับท้องถิ่น เช่น น้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือน อากาศเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรมในเมือง
มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ อาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตจากทรัพยากรธรรมชาติ
ประชากร ที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

•ต้องแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น
•ปรับปรุงเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
•ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตสำหรับเลี้ยงประชากรโลก
•พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
•พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง
•มีการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมในระดับโลก
ประชากรเพิ่มมากขึ้น

•ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
•ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสะสมของเสีย
•เกิดมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
•ปัญหาของระบบนิเวศ
มีสาเหตุหลากหลาย ระดับท้องถิ่น เช่น น้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือน อากาศเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรมในเมือง
มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ อาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตจากทรัพยากรธรรมชาติ
ประชากร ที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

•ต้องแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น
•ปรับปรุงเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
•ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตสำหรับเลี้ยงประชากรโลก
•พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
•พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง
•มีการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมในระดับโลก
ประชากรเพิ่มมากขึ้น

•ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
•ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสะสมของเสีย
•เกิดมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
•ปัญหาของระบบนิเวศ
มีสาเหตุหลากหลาย ระดับท้องถิ่น เช่น น้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือน อากาศเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรมในเมือง

ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ
[แก้ไข] สิ่งมีชีวิต(Organism)
สิ่งมีชีวิต หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

ต้องมีการเจริญเติบโต
เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย
สืบพันธุ์ได้
สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ประกอบไปด้วยเซลล์
มีการหายใจ
มีการขับถ่ายของเสีย
ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ
ประชากร (Population)
ประชากร (Population) หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

กลุ่มสิ่งมีชีวิต(Community)
กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อม

โลกของสิ่งมีชีวิต
โลกของสิ่งมีชีวิต หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน

แหล่งที่อยู่ (Habitat)
แหล่งที่อยู่ (Habitat) หมายถึง บริเวณ หรือสถานที่ที่ใช้สำหรับผสมพันธุ์วางไข่ เป็นแหล่งที่อยู่ เช่น บ้าน สระน้ำ ซอกฟัน ลำไส้เล็ก




ความหมายของนิเวศวิทยา
คำว่า Ecology ได้รากศัพย์มาจากภาษากรีก คือ Oikos และ Olgy ซึ่ง Oikos หมายความถึง "บ้าน" หรือ "ที่อยู่อาศัย" และ Ology หมายถึง "การศีกษา"Ecologyหรือนิเวศวิทยาจึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยการศึกษาสิ่งมีชีวิตในแหล่งอาศัยและกินความกว้างไปถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น ประกอบด้วยบริเวณที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ และกลุ่มประชากรที่มีชีวิตอยู่ในบริเวณดังกล่าว พืชและโดยเฉพาะสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องการบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีขนาดอย่างน้อยที่สุดที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อว่าการมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป ยกตัวอย่างเช่น สระน้ำแห่งหนึ่งเราจะพบสัตว์และพืชนานาชนิด ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริเวณน้ำที่มันอาศัยอยู่โดยมีจำนวนแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด สระน้ำนั้นดูเหมือนว่าจะแยกจากบริเวณแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยขอบสระ แต่ตามความเป็นจริงแล้วปริมาณน้ำในสระสามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยน้ำฝนที่ตกลงมา ในขณะเดียวกันกับที่ระดับผิวน้ำก็จะระเหยไปอยู่ตลอดเวลา น้ำที่ไหลเข้ามาเพิ่มก็จะพัดพาเอาแร่ธาตุและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เน่าเปื่อยเข้ามาในสระตัวอ่อนของยุงและลูกกบตัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ในสระน้ำ แต่จะไปเติบโตบนบก นกและแมลงซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกสระก็จะมาหาอาหารในสระน้ำ การไหลเข้าของสารและการสูญเสียสารเช่นนี้จึงทำให้สระน้ำเป็นระบบเปิดระบบหนึ่ง

หากมีแร่ธาตุไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้การเจริญเติบโตของพืชเพิ่มมากขึ้น เช่น ไฟโตแพลงตันหรือพืชน้ำที่อยู่ก้นสระ ปริมาณสัตว์จึงเพิ่มมากขึ้นด้วย เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อปริมาณสัตว์เพิ่ม ปริมาณของพืชที่เป็นอาหารก็จะค่อย ๆ น้อยลง ทำให้ปริมาณสัตว์ค่อย ๆ ลดตามลงไปด้วยเนื่องจากอาหารมีไม่พอ ดังนั้นสระน้ำจึงมีความสามารถในการที่จะควบคุมตัวของมัน (Self-regulation) เองได้ กล่าวคือ จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในสระน้ำจะมีจำนวนคงที่ ซึ่งเราเรียกว่ามีความสมดุล

สระน้ำนี้ จึงเป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติที่เรียกว่า "ระบบนิเวศ" (Ecosystem) ซึ่งกล่าวได้ว่าระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น เป็นโครงสร้างที่เปิดและมีความสามารถในการควบคุมตัวของมันเอง ประกอบไปด้วยประชากรต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไร้ชีวิต ระบบนิเวศเป็นระบบเปิดที่มีความสัมพันธ์กับบริเวณแวดล้อมโดยมีการแลกเปลี่ยนสาร และพลังงาน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวชุมชนที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ชีวิตนั้นรวมกันเป็นระบบนิเวศ


ระบบนิเวศอาจมีขนาดใหญ่ระดับโลก คือ ชีวาลัย (biosphere) ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่อหุ้มโลกอยู่และสามารถมีขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้หรืออาจมีขนาดเล็กเท่าบ่อน้ำแห่งหนึ่ง แต่เราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ดังนี้

[แก้ไข] ระบบนิเวศทางธรรมชาติและใกล้ธรรมชาติ (Natural and seminatural ecosystems)
เป็นระบบที่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อที่จะทำงานได้

[แก้ไข] ระบบนิเวศแหล่งน้ำ (Aguative cosystems)
ระบบนิเวศทางทะเล เช่น มหาสมุทรแนวปะการัง ทะเลภายในที่เป็นน้ำเค็ม
[แก้ไข] ระบบนิเวศบนบก (Terresttrial ecosystems)
ระบบนิเวศกึ่งบก เช่น ป่าพรุ
ระบบนิเวศบนบกแท้ เช่น ป่าดิบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย



ระบบนิเวศเมือง-อุตสาหกรรม (Urbanindustral ecosystems)
เป็นระบบที่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง พลังนิวเคลียร์ เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใหม่

ระบบนิเวศเกษตร (Agricultural ecosystems)
เป็นระบบที่มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่



ระบบนิเวศและประโยชน์ของทุ่งน้ำจืด
น้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของระบบนิเวศทุ่งน้ำจืด ทั้งในด้านการกำเนิดและการดำรงอยู่ น้ำภายในทุ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จนถึงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ การที่น้ำถูกระบายผ่านทุ่งน้ำจืดเคลื่อนที่ได้ช้า เพราะลักษณะภูมิประเทศอันเป็นที่ราบ ทำให้สิ่งที่แขวนลอยและตะกอนดินต่างๆ ที่ไหลมากับน้ำ เกิดการตกตะกอนเป็นธาตุอาหารให้กับพืชน้ำ สัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ขึ้นจะกินพืชและสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร เหยี่ยว งู ปลาไหล นาก ฯลฯ จะกินสัตว์น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นอาหารอีกต่อหนึ่ง

การเกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้ง มีผลกระทบกับทุ่งน้ำจืดโดยตรง น้ำท่วมอาจทำให้สิ่งมีชีวิตในทุ่งบางชนิด เช่น หนูที่อยู่ในรูตายได้ แต่ความแห้งแล้งทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวนานของน้ำท่วมและความแห้งแล้ง ข้อมูลเกี่ยวกับความถี่และช่วงเวลาของการเกิดน้ำท่วมและความแห้งแล้งช่วยในการจัดการพื้นที่ทุ่งได้

Adamus และ Stockwell ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเสนอต่อกรมทางหลวงสหรัฐอเมริกา และได้สรุปความสัมพันธ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำต่อมวลมนุษย์ดังนี้

เก็บกักน้ำใต้ดิน
ปลดปล่อยน้ำใต้ดิน
ควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วม
ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
กักเก็บตะกอน
สะสมและปลดปล่อยธาตุอาหาร
เป็นส่วนหนึ่งของลูกโซ่อาหาร
เป็นที่อยู่อาศัยของปลา
เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีศักยภาพ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- SchoolNet.com

- ThaigoodView.com

- วิกิพีเดีย

อิทธิพลของมนุษย์ต่อความมั่นคงของระบบนิเวศ
ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง


ปัจจุบันปะการังได้ถูกทำลาย เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยว วิธีการที่จะดำเนินการฟื้นฟูวิธีการหนึ่ง โดยการสร้างปะการังเทียม โดยนำยางรถยนต์ไปไว้ใต้ทะเลให้ปะการังอาศัยเกาะอยู่ เพื่อให้มีส่วนปรับระบบนิเวศในท้องทะเล


ชีวาลัย (Biosphere) เป็นส่วนหนึ่งของโลก ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ได้แก่ บริเวณที่เป็นมหาสมุทรน้ำจืด บรรยากาศและชั้นดินบางส่วนมีผู้เปรียบเทียบว่าถ้าให้โลกของเราสูงเท่ากับตึก 8 ชั้น ชีวาลัย (Biosphere) จะมีความหนาเพียงครึ่งเท่านั้นซึ่งแสดงว่าบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้นั้นบางมาก ทรัพยากรธรรมชาติจึงมีจำกัดเกินกว่าที่เราคาดหมายไว้ มนุษย์เองเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของชีวาลัยซึ่งยังต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม ในชีวาลัย เพื่อมีชีวิตรอดมนุษย์อาจจะเปลี่ยนหรือทำลายระบบนิเวศระบบใดได้ แต่มนุษย์จะไม่สามารถทำลายชีวาลัยได้ เพราะเท่ากับเป็นการทำลายตนเอง
ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องนิเวศวิทยา จึงเป็นการทำให้มนุษย์ได้เข้าใจถึงฐานะ และหน้าที่ของตัวเองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบเท่านั้น การกระทำใด ๆ ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมมีผลเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในระบบด้วยเช่นเดียวกับที่มีผลต่อมนุษย์เอง
ดังนั้นเราจึงควรตระหนักว่าในการพัฒนาใด ๆ ของมนุษย์ที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นวัตถุดิบนั้นเราจะต้องคำนึงถึงปัญหาการเสียสมดุลทางนิเวศวิทยาด้วย เพื่อไม่ให้การพัฒนานั้นย้อนกลับมาสร้างปัญหาต่อมนุษย์เองไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะมลพิษหรือการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต